วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียรู้ครั้งที่ 16 วันที่4 ตุลาคม 2554

สอบปลายภาค

บันทึกการเรียนรู้ที่ 15 วันที่27 กันยายน 2554

อาจารย์สรุปเนื้อหาที่เรียนไปทั้งหมด
ความรู้ที่ได้รับจาก วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- หลักการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์
-สื่อวิทยาศาสตร์
-ทักษะวิทยาศาสตร์
-ของเล่นวิทยาศาสตร์
-การสอบเเบบโครงการ
-การเขียนเเผน
-การทำโครงการวิทยาศาสตร์
-การจัดนิทรรศการ
-การประเมินทางวิทยาศาสตร์

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 14 วันที่ 20 กันยายน 2554

อาจารย์อธิบายถึงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 6 ทักษะ ดังนี้
1.ทักษะารสังเกต
2.ทักษะการจำเเนก
3.ทักษะการแสดงปริมาณ
4.ทักษะการสื่อความหมาย
5.ทักษะการเเสดงความคิดเห็น
6.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา
อาจารย์ให้ส่งแผนของเเต่ละคน




บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 13 วันที่ 13 กันยายน 2554

อาจารย์ให้ส่งแผนกลุ่ม โดย กลุ่มของดิฉัน เขียนแผน หน่วยเรื่องผลไม้
หัวข้อเรื่องที่เราจะเอามาสอนเราต้องดูจาก สาระการเรียนรู้ ซึ่งประกอบไปด้วย
1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2.บุคคลและสถานที่
3.ธรรมชาติรอบตัว
4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

และแผนการสอนมีส่วนกระกอบดังนี้
- วัตถุประสงค์
-ประสบการณ์สำคัญ
-กิจกรรมการสอน
ขั้นนำ
ขั้นสอน
ขั้นสรุป

เราจะต้องเขียนให้ครบทุกส่วนประกอบที่มีอยู่ในแผน เพื่อง่ายต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนให้กับเด็ก และอาจารย์ยกตัวอย่างการเขียนเเผน คือ หน่วย เห็ด
จากหัวข้อใหญ่มาเขียนแผนการจัดประสบการณ์ในเเต่ละวัน ทั้งหมด 5 วัน




บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 12 วันที่ 6 กันยายน 2554


อาจารย์ให้ส่งงานสิ่งประดิษฐ์จากแกนทิชชู
ชื่อ ผลงาน กล้องผสมสี
วัสดุอุปกรณ์
1. แกนทิชชู
2.กระดาษแก้ว 3 สี
3.กระดาษเศษ
4. สติ๊กเกอร์ใส
5. กรรไกร
ุ6.กาว
วิธีการทำ
1. ทำแกนทิชชู 2 ขนาด คือ ขนาดเล็กกับขนาดใหญ่
2.ตัดกระดาษแก้วทั้ง 3 สี ไว้ แผ่น
3.นำกระดาษแก้วที่ตัดไว้มาติดกาวบนปากแกนทิชชู ทั้ง 6 อัน
4.นำกระดาษสีมาตกแต่งให้สวยงาม
5.นำสติกเกอร์ใสมาเคลือบแกนทิชชู
วิธีการเล่น
1.ทดลองมอง ผ่านกล้อง แต่ละอัน แร้วนำกล่องเล็กมาสอดใส่กล่องใหญ่ เเล้วทลองมองอีกครั้ง

ดูวีดิโอ เกี่ยว น้ำ

การเปลี่ยนสถานะของน้ำ

ภายใต้ความกดอากาศ ณ ระดับน้ำทะเลปานกลาง น้ำมีสถานะเป็นของเหลว น้ำจะเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซ (ไอน้ำ) เมื่อมีอุณหภูมิสูงถึง “จุดเดือด” (Boiling point) ที่อุณหภูมิ 100°C และจะเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง เมื่ออุณหภูมิลดต่ำถึง “จุดเยือกแข็ง”(Freezing point) ที่อุณหภูมิ 0°C การเปลี่ยนสถานะของน้ำมีการดูดกลืนหรือการคายความร้อน โดยที่ไม่ทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง เราเรียกว่า “ความร้อนแฝง” (Latent heat)

ความร้อนแฝงมีหน่วยเป็น แคลอรี
1 แคลอรี = ปริมาณความร้อนซึ่งทำให้น้ำ 1 กรัม มีอุณหภูมิสูงขึ้น 1°C (ดังนั้นหากเราเพิ่มความร้อน 10 แคลอรี
ให้กับน้ำ 1 กรัม น้ำจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 10°C)


ภาพที่ 3 พลังงานที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของน้ำ

ก่อนที่น้ำแข็งละลาย น้ำแข็งต้องการความร้อนแฝง 80 แคลอรี/กรัม เพื่อทำให้น้ำ 1 กรัม เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว น้ำแข็งดูดกลืนความร้อนนี้ไว้โดยยังคงรักษาอุณหภูมิ 0°C คงที่ไม่เปลี่ยนแปลงจนกว่าน้ำแข็งจะละลายหมดก้อน ความร้อนที่ถูกดูดกลืนเข้าไปจะทำลายโครงสร้างผลึกน้ำแข็ง ทำให้น้ำแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว ในทางกลับกัน เมื่อน้ำเปลี่ยนสถานะเป็นน้ำแข็ง ก็จะคายความร้อนแฝงออกมา 80 แคลอรี/กรัม
เมื่อน้ำเปลี่ยนสถานะเป็นไอน้ำ น้ำต้องการความร้อนแฝง 600 แคลอรี เพื่อที่จะเปลี่ยน น้ำ 1 กรัม ให้กลายเป็นไอน้ำ ในทำนองกลับกัน เมื่อไอน้ำควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำ น้ำจะคายความร้อนแฝงออกมา 600 แคลอรี/กรัม ทำให้เรารู้สึกร้อน ก่อนที่จะเกิดฝนตก




บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 11วันที่ 30 สิงหาคม 2554

จากการเรียนวันนี้ทำให้ทราบถึงประโยชน์ของวัสดุเหลือใช้ คือ แกนทิชชูที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อีกโดยการนำมาประดิษฐ์เป็นของเล่นได้อีก และยังได้ทราบถึงวิธีการจัดการเรียนการสอบเเบบโครงการที่เป็นการจัดการเรียนการสอนเป็นระยะเวลายาว สามารถใช้เป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กได้เมื่อตอนเราฝึกสอนหรือเป็นครูต่อไป



บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 10 วันที่ 23 สิงหาคม 2554

อาจารย์พูดเรื่องสิ่งของที่นำมาประดิษฐ์ได้

-ขวดน้ำ

-แกนทิชู

-หลอด

-ปากกา

-กระดาษ

-กล่องนม

-กล่องยาสีฟัน

-กระป๋อง

-ลัง

-แก้วน้ำ

ขั้นตอนการทำกิจกรรม
-ลงมือกระทำ >> มือ ตา หู ลิ้น จมูก
-คิดสร้างสรรค์ >> คิดริเริ่ม คิดคล่องแคล่ว คิดยึดยุ่น คิดละเอียดละออ
-วิธีการ >> สอดคล้องกับพัฒนาการ มีความหลากหลายในการสื่อแะกระบวนการเทคนิค
-เนื่อหา >> สอดคล้องกับหน่วยใกล้ตัว
-มีลำดับขั้นตอน

อาจารย์ได้ยกตัวอย่างหน่วยการสอนที่ใช้สอนเด็กได้ คือ หน่วยดอกไ้ม้
1.หน่วยดอกไม้
-ส่วนประกอบของดอกไม้
-ดอกไม้มีชนดอะไรบ้าง
-มีสีอะไรบ้าง
-มีประโยชน์อย่างไร
-ขยายพันธ์ด้วยวิธีการใด
-การดูเเล
-การปลูก
2.สถานที่
-สวนดอกไม้
-ร้านขายดอกไม้
-ห้องสมุดหรืออินเตอร์เน็ต
-ร้านขายของที่ระลึก
3.การจัดกิจกรรม
- การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวเเละจังหวะ >>เเต่งเพลง เคลื่อนไหวเกี่ยวกับดอกไม้
-กิจกรรมเสริมประสบการณ์ >> เชิญวิทยากรมา ไปทัศนะศึกษาในสถานที่ที่เกี่ยวกับดอกไม้
-กิจกรรมศิลปะ >> วาดรูป พิมพ์ภาพ ประดิษฐ์ แต่งนิทาน
-กิจกรรมเสรี >> การจัดมุมต่างๆ
-กิจกรรมกลางเเจ้ง >> เกมส์
4.สรุปนำเสนอ
-นิทรรศการ
-เพลง
-นิทาน
-แผนที่
-งานประดิษฐ์
-ส่วนประกอบ
-อาหาร
-เกมส์
ดอกไม้ เป็นวิทยาศาสตร์ คือ เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัว
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีการทดลองเกิดการเปลี่ยนเเปลงที่ชัดเจน คือ การประกอบอาหาร




บันทึกการเรียนรู้ ครั้งทึ่ 9 วันที่ 16 สิงหาคม 2554

ให้ดูวีดิโอ เรื่อง เเสง

แสงเป็นพลังงานรูปหนึ่ง เดินทางในรูปเคลื่อนที่มีอัตราเร็วสูง สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่บนโลกไม่สามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่มีแสง แหล่งกำเนิดแสงที่สำคัญที่สุดของเราคือดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม เราสามารถผลิตแสงได้เองเช่นกันโดยใช้ไฟฟ้า

สี่เหลี่ยมมุมมน: 1.  ลำแสง

ถ้าลำแสงผ่านควันหรือฝุ่นละออง จะเห็นลำแสงนี้เป็นเส้นตรงด้วยอัตราเร็ว 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที แสงสามารถผ่านวัตถุบางชนิดได้ แต่แสงไม่สามารถผ่านวัตถุทึบแสงได้ เช่น แผ่นเหล็ก ผนังคอนกรีต กระดาษหนาๆ เป็นต้น วัตถุทึบแสงจะสะท้อนแสงบางส่วนและดูดกลืนแสงไว้บางส่วน และเกิดเงาได้เมื่อใช้วัตถุแสงกั้นลำแสงไว้
วัตถุโปร่งใส หมายถึง วัตถุที่ยอมให้แสงเคลื่อนที่เป็นตรงเส้นผ่านไปได้ เช่น อากาศ น้ำ เป็นต้น เราสามารถมองผ่านวัตถุโปร่งใส เห็นสิ่งต่างๆได้ (ภาพที่ 12.1)
แสงสามารถผ่านวัตถุโปร่งใสได เช่น กระจกฝ้า กระดาษฝ้า พลาสติกฝ้า วัตถุเหล่านี้ จะกระจายแสงออกไปโดยรอบ ทำให้แสงเคลื่อนที่ไม่เป็นเส้นตรงเมื่อเคลื่อนที่ผ่านวัตถุโปร่งแสง

ภาพที่ 12.1 แสดงวัตถุโปร่งใส (วัชรา ทับอัตตานนท์ : 2543, 15)

สี่เหลี่ยมมุมมน: 2.  สีของแสง

แสงจากดวงอาทิตย์เป็นแสงขาว ซึ่งประกอบด้วยแสง 7 สี ผสมอยู่ด้วยกัน เราสามารถใช้ปริซึมแยกลำแสงขาวออกเป็นแสงทั้ง 7 สีได้ โดยจะเห็นเป็นแถบของแสงสีทั้งหมดเรียงติดกัน เราเรียกว่า สเปกตรัม (Spectrum) ในธรรมชาติสิ่งที่มีสมบัติเป็นปริซึม ได้แก่ หยดน้ำฝน ละอองไอน้ำ โดยภายหลังจากฝนตกเมื่อแสงแดดส่องกระทบหยดน้ำฝนหรือละออง ไอน้ำ เราจะมองเห็นแสงแดดเป็นแถบสีทั้ง 7 สี ปรากฏขึ้นบนท้องฟ้า ที่เรียกว่า รุ้งกินน้ำ (ภาพที่ 12.2)
สำหรับในอากาศหรือสูญอากาศ แสงทั้ง 7 สี จะเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 3 x 108 เมตรต่อวินาที เท่ากันทุกสี แต่หากเคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก แสงแต่ละสีจะมีอัตราเร็วในการเคลื่อนที่ไม่เท่ากัน โดยจะมีอัตราเร็วน้อยกว่าการเคลื่อนที่ในสุญญากาศ(สุญญากาศ คือ บริเวณที่ว่างเปล่าปราศจากอากาศ)
เมื่อแสงเคลื่อนที่จากอากาศไปยังตัวกลาง หรือจากตัวกลางไปยังอากาศ หรือเคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง 2 ชนิด จะทำให้อัตราเร็วของแสงและทิศการเคลื่อนที่ของแสงเปลี่ยนไป เราเรียนว่า แสงเกิดการหักเห ในตัวกลางที่หนาแน่นนั้น แสงสีแดงจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าสีม่วง ทำให้แสงสีแดงเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่น้อยกว่าแสงสีม่วง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการกระจายแสงสีขาวออกเป็น 7 สี นั้นเอง

ภาพที่ 12.2 การแสดงการกระจายของแสงขาว

(บุญถึง แน่นหนา : 2544, 60)

เราอาจใช้แสงเพียง 3 สีรวมกันเป็นแสงขาวได้ เรียกว่า สีปฐมภูมิ(primarycolours) ได้แก่ แสงสีน้ำเงิน แสงสีเขียว และแสงสีแดง เมื่อมีปฐมภูมิทั้ง 3 นี้รวมกันจะได้แสงขาว (ภาพที่ 12.3) ถ้านำแสงสีปฐมภูมิ 2 สี มารวมกันจะได้ สีทุติยภูมิ(secondary colours) ซึ่งแสงของสีที่จะได้จากการผสมสีทุติยภูมิจะมีความแตกต่างกันในระดับความเข้มสีและความสว่างของแสง

ภาพที่ 12.3 แสดงแสงขางประกอบด้วยแม่สีทั้งสามตามสัดส่วนที่เหมาะสม (บุญถึงแน่นหนา : 2544, 62)

เรามองเห็นวัตถุโปร่งแสงด้วยตังเองไม่ได้เพราะมีแสงส่องมากระทบและสะท้อนจากวัตถุนั้นเข้าสู่นัยน์ตาของเรา และสีของวัตถุก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของแสงที่สะท้อนนั้นด้วย โดยวัตถุสีน้ำเงินจะสะท้อนออกไปมากที่สุด สะท้อนแสงสีค้างเคียงออกไปบ้างเล็กน้อย และดูดกลืนแสงสีอื่น ๆ ไว้หมด ส่วนวัตถุสีแดงจะสะท้อนแสงสีแดงออกไปมากที่สุด มีสีข้างเคียงสะท้อนออกไปเล็กน้อยและดูดกลืนแสงสีอื่น ๆ ไว้หมดสำหรับสีดำจะดูดกลืนทุกแสงสีและสะท้อนกลับได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

สี่เหลี่ยมมุมมน: การมองเห็นสีแดง

ภาพที่ 12.4 แสดงการมองเห็นสีแดง (มานี จันทามล, 2545 : 103)

สี่เหลี่ยมมุมมน: การเคลื่อนที่ของแสง

แสงที่ออกมาจากแหล่งกำเนิดแสง เมื่อเดินทางผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่ต่างกัน จะเกิดการหักเห แต่จะผ่านเป็นเส้นตรงเมื่อเดินผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นเท่ากันหรือเป็นตัวกลางชนิดเดียวกัน
เลนส์และปริซึมเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดการเบี่ยงเบนของลำแสงที่ส่องผ่าน ต่างกันตรงที่ปริซึมสามารถแยกลำแสงที่ส่องผ่านออกเป็นแสงสีต่างๆ ตามองค์ประกอบของแสงนั้น ๆ หรือที่เรียกว่า สเปกตรัม (spectrum) (ภาพที่ 12.5)

ภาพที่12.5 แสดงปริซึมแยกลำแสง เรียกว่า สเปกตรัม

(บุญถึง แน่นหนา : 2544,62)

สี่เหลี่ยมมุมมน: 4.  การหักเหของแสง

แสงเมื่อเดินทางจากตัวกลางหนึ่งไปยังตัวกลางอีกชนิดหนึ่งที่เป็นตัวกลางโปร่งใสและมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน ความเร็วในการเดินทางของแสงจะเปลี่ยนไป
เมื่อแสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากไปสู่ตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อย แสงจะหักเหออกจากเส้นปกติ
ถ้าแสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากไปหาตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยแสงจะหักเหออกจาเส้นปกติ ดังนั้นแสงเมื่อเดินทางในตัวกลางที่มีความหนาแน่นมาก ความเร็วของแสงจะลดลง จึงทำให้ลำแสงเบนไปจากแนวเดิม เรียกว่า แสงเกิดการหักเห (ภาพที่ 12.6)

ภาพที่ 12.6 แสดงการหักเหแสงในตัวกลางต่างกัน

(ยุพา วรยศ, 2547 : 127)

ภาพที่ 12.7 แสกงการหักเหของแสง

(บุญถึง แน่นหนา, 2544 : 56)

แสงเมื่อเดินทางตกกระทบผิวหน้าของวัตถุอันหนึ่ง เช่น แสงเดินทางจากอากาศมากระทบแก้วโปร่งใส แสงส่วนหนึ่งจะสะท้อนกลับ อีกส่วนหนึ่งจะเดินทางผ่านเข้าไปในแก้ว และแสงจะหักเหเข้าหาเส้นปกติ เมื่อแสงเดินทางออกจากแก้วมาสู่อากาศ แสงจะหักเหออกจากเส้นปกติ ลำแสงก่อนตกกระทบแก้ว และลำแสงที่ออกจากแก้วจึงมีลักษณะขนานกัน
เมื่อจุ่มหลอดดูดลงไปในน้ำที่บรรจุอยู่ในถ้วยแก้วจึงมองดูเหมือนกับว่าหลอดดูดส่วนที่จมอยู่ในน้ำโค้งงอ มีขนาดใหญ่กว่าส่วนที่อยู่เหนือน้ำ และปลาย ล่างสุดของหลอดดูดสูงขึ้นมากันแก้วที่เป็นเช่นนี้เพราะแสงจากหลอดดูดเกิดการหักเห ขณะเดินทางผ่านน้ำผ่านแก้ว และผ่านอากาศมาเข้าตาของเรา (ภาพที่ 12.7 ก)
การหักเหของแสงทำให้เรามองเห็นภาพของวัตถุอันหนึ่งที่จมอยู่ก้นสระน้ำอยู่ตื้นกว่า ความเป็นจริง (ภาพที่ 12.7 ข) ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะแสงจากก้นสระว่ายน้ำจะหักเหเมื่อเดินทางจากน้ำสู่อากาศ ทั้งนี้เพราะความเร็วของแสงที่เดินทางในอากาศเร็วกว่าเดินทางในน้ำ จึงทำให้้แสงช่วงที่ออกจากน้ำสู่อากาศหักเหออกจากเส้นปกติ จึงทำให้เห็นภาพของวัตถุอยู่ตื้นกว่าความเป็นจริง (ภาพที่ 12.8)

ภาพที่ 12.8 แสดงการหักเหของแสงทำให้เราเห็นวัตถุใต้น้ำผิด

ไปจากค่าความจริง (บุญถึง แน่นหนา : 2544, 56)

สี่เหลี่ยมมุมมน: 5.  การสะท้อนแสง

แสงที่เดินทางจากตัวกลางที่โปร่งแสงไปสู่ตัวกลางที่โปร่งใส เช่น จากแก้วไปสู่อากาศ ถ้ามุมตกกระทบน้อย กว่า 42 องศา แสงบางส่วนจะสะท้อนกลับและบางส่วนจะทะลุออกอากาศ แต่ถ้าที่มุมแก้วตกกระทบแก้วกับ 42 องศา แสงจะสะท้อนกลับคืนสู่แก้วหมดไม่มีแสงออกจากอากาศเลย ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า การสะท้อนกลับหมด นั้นคือ รอยต่อแก้วกับอากาศทำหน้าที่เสมือนการตกกระทบที่จะทำให้แสงสะท้อนกลับหมด ซึ่งจะมีค่าแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของตัวกลาง (ภาพที่ 12.9)

ภาพที่ 12.9 แสดงการสะท้อนกลับหมด

(บุญถึง แน่นหนา, 2544 : 56)

เมื่อแสงตกกระทบวัตถุ แสงบ่างส่วนจะสะท้อนจากวัตถุ ถ้าแสงสะท้อนจากวัตถุเข้าสู่นัยน์ตาจะเกิดการมองเห็นและรับรู้เกี่ยวกับวัตถุนั้นได้

ภาพที่ 12.10 แสดงการสะท้อนของแสง (มานี จันทวิมล, 2545 : 103)

จากรูป เมื่อแสงตกกระทบวัตถุทึบแสงผิงเรียบสามารถใช้เส้นตรงและหัวลูกศรแสดงทิศทางของรังสีตกกระทบและรังสีสะท้อน เมื่อลากเส้นทางเดินของแสงเมื่อตกกระทบวัตถุจะเกิดมุม 2 มุม โดยเรียกมุมอยู่ระหว่างรังสีตกกระทบกับเส้นปกติกว่า”มุมตกกระทบ” และเรียกมุมที่อยู่ระหว่างรังสีสะท้อนกับเส้นปกติว่า”มุมสะท้อน” (ภาพที่12.10) ซึ่งการสะท้อนแสงบนผิววัตถุอธิบายได้ด้วย

กฎการสะท้อน ดังนี้
1. รังสีตกกระทบ เส้นปกติ และรังสีสะท้อนอยู่ในระนาบเดียวกัน
2. มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน
เมื่อแสงตกกระทบวัตถุผิวเรียบเกิดการสะท้อนของแสงอย่างเป็นระเบียบ แต่ถ้าแสงตกกระทบพื้นผิวขรุขระ แสงสะท้อนจะสะท้อนอย่างกระจัดกระจายดัง (ภาพที่ 12.11)

ภาพที่ 12..11 แสดงการสะท้อนของแสง (บุญถึง แน่นหนา : 2544, 53)

มุมวิกฤต (criticsl angle) เป็นมุมตกกระทบค่าหนึ่งทำให้เกิดมุมหักเหมีค่าเป็น 90 องศา มุมวิกฤตจะเกิดขึ้นได้เมื่อรังสีตกกระทบผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า เช่น เมื่อแสงผ่านแก้วสู่อากาศด้วยมุมวิกฤต จะทำให้แนวรังสีหักเหทับอยู่บนรอยต่อของตัวกลางทั้งสอง
การสะท้อนกลับหมด (total reflection) เกิดจากการเดินทางของแสงจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่าไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า เมื่อแสงเคลื่อนที่ถึงรอยต่อระหว่างตัวกลางจะเกิดการสะท้อนกลับสู่ตรงกลางเดิม การสะท้อนกลับหมดจะเกิดขึ้นเมื่อมุมตกกระทบมีค่ามากกว่ามุมวิกฤต ทำให้ลำแสงไม่หักเหเข้าไปในตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า แต่เกิดการสะท้อนกลับหมดแทน เช่น การสะท้อนกลับหมดของแสงในเส้นใยนำแสงในการแสดงดนตรีบนเวที (ภาพที่ 12.12)

ภาพที่ 12.12 แสดงการสะท้อนกลับมาของแสง
(บุญถึง แน่นหนา, 2544 : 53)

มิราจ (mirage) หรือภาพลวงตา เป็นปรากฏการณ์ซึ่งเกิดจากการหักเหของแสงเนื่องจากชั้นของอากาศที่แสงเดิมทางผ่านมีอุณหภูมิต่างกัน แล้วเกิดการสะท้อนกลับหมด เช่น
- การมองเห็นต้นไม้กลับหัว
- การมองเห็นเหมือนมีน้ำหรือน้ำมันนองพื้นถนน ในวันที่มีอากาศร้อนจัด (ภาพที่ 12.13)
- การมองเห็นภาพบิดเบี้ยว เนื่องจากไอของความร้อนขยายตัวลอยสูงขึ้นจากผิวถนน

ภาพที่ 12.13 แสดงการเกิดภาพลวงตา

(บุญถึง แน่นหนา, 2544 : 57)

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 8 วันที่ 9 สิงหาคม 2554

สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สอบ ไม่มีการเรียนการสอน

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 7 วันที่ 2 สิงหาคม 2554



อาจารย์ให้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ของเเต่ละ

ชื่อผลงาน ลูกยาง

อุปกรณ์ 1. เเท่งไม้ 2 แท่ง

2. แผ่นพลาสติก 2 แผ่น

3. หนังยาง

วิธีการทำ 1. เล่าไม้ 1 แท่ง ให้เป็นหัวขอ
2. เเล้วใช้ยางมัด ให้เป็นตัวดึง
3. ตัดแผ่นพลาสติกให้เป็น ใบพัด
4. แล้วนำมาประกบกันแล้วใช้ เทปกาว พันใหเแน่น

วิธีการเล่น

ใช้ยิงขึ้นบนฟ้า



วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ภาพกิจกรรม




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 [ 26 กรกฎาคม 2554 ]

งานที่ได้รับมอบหมาย...
1. เขียนโครงการ ลด ละ เลิก เหล้า บุหรี่ เเละสิ่งเสพติด โดยมีหัวข้อ ดังนี้

  • หลักการเเละเหตุผล
  • วิธีดำเนินกิจกรรม
  • สื่อเเละอุปกรณ์
  • ประโยชน์ที่ได้รับ

2. นำกระดาษ 4 เเผ่นมาส่ง โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ให้ตีเป็นตาราง 2 ส่วน

  • เเผ่นที่ 1 ให้เขียนชื่อ-นามสกุล เลขที่ กลุ่มเรียน เเละเขียนลำดับ 1-3

  • เเผ่นที่ 2 เขียนลำดับ 4-7

  • เเผ่นที่ 3 เขียนลำดับ 8-11

  • เเผ่นที่ 4 เขียนลำดับ 12-15

3. ให้เขียนกิจกรรมการทดลองของกลุ่มตัวเอง

  • วิธีการทดลอง
  • อุปกรณ์
  • ประโยชน์ที่ได้รับ

การเรียนการสอน ในวันนี้...

  • เด็กปฐมวัย

- เป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็น

- เป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญาที่สุดขอชีวิต

- เเสวงหาความรู้ สามารถเเก้ปัญหาได้ด้วยตนเองจากสิ่งเเวดล้อมรอบๆตัว

  • ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

- เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล เเสวงหาความรู้ สามารถเเก้ปัญหาได้ตามวัย ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง จากสิ่งเเวดล้อมรอบๆตัว

  • ทักษะการสังเกต

- การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้เเก่ ตา หู จมูก ลิ้น เเละผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุ

  • ทักษะการจำเเนก

- ความสามารถในการเเยกสิ่งต่างๆ โดยใช้เกณฑ์

[ ความเหมือน , ความเเตกต่าง , ความสัมพันธ์ร่วม ]

  • ทักษะการวัด

- การใช้เครื่องมือปริมาณหน่วยสิ่งต่างๆ โดยใช้หน่วยกำกับ

[ รู้จักกับสิ่งของที่จะวัด , การเลือกเครื่องมือที่นำมาใช้วัด , วิธีการที่เราจะวัด ]

  • ทักษะการสื่อความหมาย

- การพูด การเขียน รูปภาพ เเละภาษาท่าทาง การเเสดงสีหน้า ความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องเเละชัดเจน

  • ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล

- การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูล ที่มีอยู่อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยจากความรู้ หรือประสบการณ์

  • ทักษะการหาสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา

- การรู้จักเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ การบอกทิศทาง การให้เห็นภาพที่เกิดจากเงาบนกระจก บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุ บอกตำเเหน่งหรือทศทางของวัตถุ

  • ทักษะการคำนวณ

- ความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การบวก ลบ คูณ หาร


*** ประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์มาคนละ 1 ชิ้น ***


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 5 วันที่ 19 กรกฎาคม 2554


อาจารย์ให้นำเสนองานที่ยังไม่ผ่าน
อาจารย์พูดเรื่อง
- กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จะต้องมีขั้นตอนดังนี้
1. ตั้งสมมุติฐาน
2. ทดลอง
3. ลงมือปฏิบัติ
4. บันทึกผล แล้วนำผลที่ได้ไปเทียบเคียงกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
- วิทยาศาสตร์ ที่จัดเพื่อให้เด็กได้ คือ
1. ความรู้
2. ทักษะทางวิทยาศาสตร์
- หลักการจัดประสบการณ์
1. เรื่องใกล้ตัว
2. สอดคล้องกับความต้องการ
3. มีผลต่อเด็ก เช่น สึนามิ มีผลต่อภาวะโลกร้อนอย่างไร
หลังจากนั้น อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มเขียน โครงการ ลด ละ เลิก เหล้า บุหรี่ และสิ่งเสพติด ถวายพ่อหลวง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 [ 12 กรกฎาคม 2554 ]



วันนี้อาจารย์ให้นำเสนองาน...ของเเต่ละกลุ่ม

* กลุ่มของดิฉันได้นำเสนอเรื่อง การเดินทางของเเสง *

วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ทราบลักษณะทางเดินของเเสง ว่าเเสงเดินทางเป็นเส้นตรง

วัสดุอุปกรณ์
  1. กระดาษที่เจาะรูตรงกัน 3 เเผ่น

  2. เทียนไข

  3. เชือก

วิธีทดลอง

  1. วางกระดาษที่เจาะรูตรงกัน 3 เเผ่น ห่างกัน 10-15 ซม.

  2. ใช้ดินน้ำมันยึดที่ฐาน ไม่ให้กระดาษล้ม

  3. ใช้เชือกร้อยผ่านรู เเล้วดึงให้ตึง ปรับดินน้ำมันที่ยึดไว้อีกครั้ง

  4. จุดเทียนไขหน้ากระดาษเเผ่นเเรก ให้เปลวไฟอยู่ตรงกลาง เเละระดับเดียวกันกับรู

  5. มองที่รูของกระดาษเเผ่นเเรก ไปยังเเผ่นที่ 2 เเละ 3 สังเกตว่า เห็นเปลวเทียนหรือไม่

  6. เลื่อนกระดาษเเผ่นที่ 2 ออกไปทางด้านข้าง

  7. มองที่รูของกระดาษเเผ่นเเรก ไปยังเเผ่นที่ 2 เเละ 3 อีกครั้ง สังเกตว่า เห็นเปลวเทียนหรือไม่ อาจารย์ให้นำเสนองานครั้งที่แล้วไม่ผ่านแก้ใหม่ และหลังจากที่เสร็จการนำเสนองานครั้งที่ไม่ผ่านแล้ว ก็เริ่มเสนองานใหม่คือ จัดกิจกรรมการทดลองวิทยาสาสตร์ของแต่ละกลุ่ม

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 [ 5 กรกฎาคม 2554 ]

วันนี้อาจารย์ให้ออกมานำเสนองาน...

เเนวคิดนักการศึกษาทาง

  • หลักการการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์

  • กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์

  • ของเล่นทางวิทยาศาตร์

  • ตัวอย่างสื่อทางวิทยาศาสตร์

*** หลังจากที่นำเสนอเสร็จ อาจารย์ก็ได้พูดถึงข้อบกพร่องของเเต่ละกลุ่ม เเละให้เเต่ละกลุ่มกลับไปปรับปรุงเเก้ไขใหม่

อาจารย์ได้มอบหมายงานกลุ่ม เรื่องกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ ให้เเต่ละกลุ่มหา กิจกรรมทางวิทยาศาตร์ 1 กิจกรรม มานำเสนอในสัปดาห์ต่อไป


หาเพิ่มเติม


ความหมายของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ ตรงกับอภาษาอังกฤษว่า Science ซึ่งมาจากรากศัพท์ว่า Scientia แปลสั้นๆง่าย คือ ความรู้หรือความรู้ที่รวบรวมไว้อย่างมีระบบ ระเบียบ หรือความรู้เกี่ยวกับปรากฎการณ์ธรรมชาติ
กล่าวโดยสรุป วิทยาศาสตร์ หมายถึง ตัวความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (scientific product)และกระบวนการในการแสวงหาความรู้ (scientific product)ซึ่งแยกย่อยเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific method)กับเจตคติทางวิทยาศาสตร์ (scientific attitude)

อ้างอิง
วิไลลัษณ์ ตั้งเจริญ. ความหมายของวิทยาศาสตร์.พิมพ์ ครั้งที่3.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ,2539

ความสำคัญ ของวิทยาศาสตร์
- ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น การกินอาหาร
- ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
- ใช้ในการสร้างอาชีพ
- ทำให้เกิดการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
- ทำให้พยากรณ์อากาศรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า
- สิ่งที่อยู่ในโลกนี้
- เกิดการพัฒนาผลิตสิ่งใหม่ๆเกิดขึ้นได้
- เด็ก
- เกิดข้อค้นพบและเอาตัวรอดได้
- เด็กเกิดความอยากรู้ อยากเห็น อยากทดลอง เกิดการพิสูจน์ด้วยตนเอง
- สิ่งแวดล้อม
- ทำให้เกิดการฤดูกาล
- ทำให้เกิดความสมดุล
หาเพิ่มเติม


ทฤษฎีพัมนาการทางสติปัญญา
พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
พัฒนาการเด็กแรกเกิด - ปี เด็กพยายามคว้าของเข้าปาก เก็บสะสมประสบการณ์ให้มากๆ เพื่อสร้างเส้นใยสมอง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 [ 28 มิถุนายน 2554 ]

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาฟังเพลง " ไอน้ำ "
ฟังเเล้วได้ความรู้อะไรบ้าง...
1. เปลี่ยนจากของเหลวกลายเป็นไอ
2. ความร้อน เป็นวัตถุที่ทำให้น้ำเกิดการเปลี่ยนเเปลง
3. เปลี่ยนรูปตามภาชนะ

อาจารย์ได้ให้เเบ่งกลุ่ม 6 กลุ่ม
- จิตวิทยาการเรียนรู้
- เเนวคิดนักการศึกษา
- หลักการการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
- ของเล่นทางวิทยาศาสตร์
- ตัวอย่างสื่อทางวิทยาศาสตร์

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1 (วันที่ 21 มิถุนายน 2554)

ปฐมนิเทศ
วันนี้อาจารย์ได้ชี้เเนะเเนวการสอน
เเละอธิบายการสร้างบล็อกว่าควรมี
องค์ประกอบอะไรบ้าง ดังนี้
1. ชื่อเเละคำอธิบายบล็อก
2. รูปเเละข้อมูลนักเรียน
3. ปฏิทินเเละนาฬิกา
4. เชื่อมโยงบล็อกกับอาจารย์ผู้สอน หน่วยงานที่สนับสุนน เเนวการสอน

บทความ งานวิจัย สื่อ [ เพลง เกม นิทาน ] ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย