วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 12 วันที่ 6 กันยายน 2554


อาจารย์ให้ส่งงานสิ่งประดิษฐ์จากแกนทิชชู
ชื่อ ผลงาน กล้องผสมสี
วัสดุอุปกรณ์
1. แกนทิชชู
2.กระดาษแก้ว 3 สี
3.กระดาษเศษ
4. สติ๊กเกอร์ใส
5. กรรไกร
ุ6.กาว
วิธีการทำ
1. ทำแกนทิชชู 2 ขนาด คือ ขนาดเล็กกับขนาดใหญ่
2.ตัดกระดาษแก้วทั้ง 3 สี ไว้ แผ่น
3.นำกระดาษแก้วที่ตัดไว้มาติดกาวบนปากแกนทิชชู ทั้ง 6 อัน
4.นำกระดาษสีมาตกแต่งให้สวยงาม
5.นำสติกเกอร์ใสมาเคลือบแกนทิชชู
วิธีการเล่น
1.ทดลองมอง ผ่านกล้อง แต่ละอัน แร้วนำกล่องเล็กมาสอดใส่กล่องใหญ่ เเล้วทลองมองอีกครั้ง

ดูวีดิโอ เกี่ยว น้ำ

การเปลี่ยนสถานะของน้ำ

ภายใต้ความกดอากาศ ณ ระดับน้ำทะเลปานกลาง น้ำมีสถานะเป็นของเหลว น้ำจะเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซ (ไอน้ำ) เมื่อมีอุณหภูมิสูงถึง “จุดเดือด” (Boiling point) ที่อุณหภูมิ 100°C และจะเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง เมื่ออุณหภูมิลดต่ำถึง “จุดเยือกแข็ง”(Freezing point) ที่อุณหภูมิ 0°C การเปลี่ยนสถานะของน้ำมีการดูดกลืนหรือการคายความร้อน โดยที่ไม่ทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง เราเรียกว่า “ความร้อนแฝง” (Latent heat)

ความร้อนแฝงมีหน่วยเป็น แคลอรี
1 แคลอรี = ปริมาณความร้อนซึ่งทำให้น้ำ 1 กรัม มีอุณหภูมิสูงขึ้น 1°C (ดังนั้นหากเราเพิ่มความร้อน 10 แคลอรี
ให้กับน้ำ 1 กรัม น้ำจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 10°C)


ภาพที่ 3 พลังงานที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของน้ำ

ก่อนที่น้ำแข็งละลาย น้ำแข็งต้องการความร้อนแฝง 80 แคลอรี/กรัม เพื่อทำให้น้ำ 1 กรัม เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว น้ำแข็งดูดกลืนความร้อนนี้ไว้โดยยังคงรักษาอุณหภูมิ 0°C คงที่ไม่เปลี่ยนแปลงจนกว่าน้ำแข็งจะละลายหมดก้อน ความร้อนที่ถูกดูดกลืนเข้าไปจะทำลายโครงสร้างผลึกน้ำแข็ง ทำให้น้ำแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว ในทางกลับกัน เมื่อน้ำเปลี่ยนสถานะเป็นน้ำแข็ง ก็จะคายความร้อนแฝงออกมา 80 แคลอรี/กรัม
เมื่อน้ำเปลี่ยนสถานะเป็นไอน้ำ น้ำต้องการความร้อนแฝง 600 แคลอรี เพื่อที่จะเปลี่ยน น้ำ 1 กรัม ให้กลายเป็นไอน้ำ ในทำนองกลับกัน เมื่อไอน้ำควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำ น้ำจะคายความร้อนแฝงออกมา 600 แคลอรี/กรัม ทำให้เรารู้สึกร้อน ก่อนที่จะเกิดฝนตก




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น